หินกรวดมนกระเปาะปูนที่เกิดจากเม็ดหรือกระเปาะปูนที่เกิดบนผิวดินในสภาวะที่ร้อนและแห้งแล้ง แล้วถูกพัดพาไปรวมตัวกัน แล้วกลายเป็นหินในที่สุด
เขี้ยวไดโนเสาร์ พบฝังอยู่ในหินกรวดมนกระเปาปูน ของหมวดหินโคกกรวด (ขอสงวนตำแหน่งของภาพ)
กระดูกสัตว์มีกระดูกสันหลัง พบฝังอยู่ในหินกรวดมนกระเปาะปูนของหมวดหินโคกกรวด (ขอสงวนตำแหน่งของภาพ)
พี่เสือใหญ่กับลุงหมู เก๊กท่าถ่ายรูปบานนี้บนหินโผล่ของหินกรวดมนกระเปาะปูนของหมวดหินโคกกรวด ณ บริเวณที่ค้นพบฟันและกรามของ psittacosaurus sattayaraki ที่จังหวัดชัยภูมิ(มีน้ำชีไหลผ่าน) พู่นแหล้ว
นี่ก็หินกรวดมน คนนั่งทับตอนนี้ได้ดิบได้ดีเป็นนายทหารใหญ่ไปแล้ว
เปรียบเทียบลักษณะของชั้นเฉียงระดับแบบแผ่น กับแบบร่อง แสดงความหนาของชุดชั้นเฉียงระดับ (set) รวมทั้งแผนภาพกุหลาบ (rose diagram) ที่ได้จากการแสดงทิศทางการวางตัวของชั้นเฉียงระดับ ที่วัดได้จากบริเวณหินโผล่แต่ละสถานที่ (นั่นคือทิศทางการไหลของกระแส (น้ำ หรือ ลม) โบราณ นั่นเอง)
---------------------------------------------
คำเตือน
- บทความนี้ นำมาจากแนวคิดนักวิชาการที่มีการนำเสนอผ่านสื่อที่น่าสนใจ นำมารวบรวมเพื่อใช้ประกอบในการศึกษาด้านธรณีวิทยา และใช้แลกเปลี่ยนแนวคิดเพื่อเรียนรู้ในงานด้านธรณีวิทยา (Geology) ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงหรือประกอบในทางกฏหมายได้ โปรดตรวจสอบความถูกต้องกับแหล่งที่มาข้อมูลอีกครั้ง
------------------------------------------------